รูปแบบการสอน หมายถึง
โครงสร้างที่เป็นกรอบกระบวนการสอน(Teaching
process frame) แบบแผนการสอน
(Teaching pattern)
เพื่อแสดงขั้นตอนรูปแบบการเรียนการสอนเอาไว้อย่างมีระเบียบและเป็นระบบ ทุกขั้นตอนจะมีการประสานสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่อง ครบวงจร
โดยแต่ละขั้นจะชี้นำหรือบ่งบอกพฤติกรรมการเรียนการสอน
ที่ทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้หรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้อย่างสมบูรณ์
(วรรณี โสมประยูร, 2541: 11)
รูปแบบการสอนที่ดี จะต้องมีรูปแบบและกรอบโครงสร้างที่แน่นอนชัดเจนในการจัดขั้นตอนและกิจกรรมการเรียนการสอนไว้อย่างสมบูรณ์และครบวงจร พร้อมทั้งมีหลักฐานการวิจัยเพื่อตรวจสอบและประเมินประสิทธิภาพเป็นการสนับสนุนด้วย รูปแบบการสอนที่ดีควรมีลักษณะยืดหยุ่นหรือปรับตัวเองได้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งรูปแบบการสอนไม่จำเป็นต้องยึดติดกับหลักสูตรหรือโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมแต่อย่างใด การสอนในแต่ละกลุ่มสาระและเนื้อหาแต่ละหน่วยการเรียนรู้ ครูจำเป็นต้องเลือกใช้รูปแบบการสอนที่เหมาะสม เพื่อใช้เป็นกรอบและแนวทางในการดำเนินกระบวนการสอนให้มีทิศทางและเกิดประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยให้ครูและนักเรียนได้สอนและเรียนรู้ได้อย่างสมบูรณ์ ด้วยเหตุนี้รูปแบบการสอนที่ครูใช้จึงต้องปรากฏอยู่ในแผนการจัดการเรียนรู้ของครูเสมอ
รูปแบบการสอนที่ดี จะต้องมีรูปแบบและกรอบโครงสร้างที่แน่นอนชัดเจนในการจัดขั้นตอนและกิจกรรมการเรียนการสอนไว้อย่างสมบูรณ์และครบวงจร พร้อมทั้งมีหลักฐานการวิจัยเพื่อตรวจสอบและประเมินประสิทธิภาพเป็นการสนับสนุนด้วย รูปแบบการสอนที่ดีควรมีลักษณะยืดหยุ่นหรือปรับตัวเองได้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งรูปแบบการสอนไม่จำเป็นต้องยึดติดกับหลักสูตรหรือโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมแต่อย่างใด การสอนในแต่ละกลุ่มสาระและเนื้อหาแต่ละหน่วยการเรียนรู้ ครูจำเป็นต้องเลือกใช้รูปแบบการสอนที่เหมาะสม เพื่อใช้เป็นกรอบและแนวทางในการดำเนินกระบวนการสอนให้มีทิศทางและเกิดประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยให้ครูและนักเรียนได้สอนและเรียนรู้ได้อย่างสมบูรณ์ ด้วยเหตุนี้รูปแบบการสอนที่ครูใช้จึงต้องปรากฏอยู่ในแผนการจัดการเรียนรู้ของครูเสมอ
ลักษณะทั่วไปของรูปแบบการสอน
ส่วนสำคัญของรูปแบบการสอนมี 4 องค์ประกอบ
ได้แก่
1. ขั้นตอนการสอน
เป็นส่วนสำคัญที่แสดงกรอบโครงสร้างที่ระบุขั้นตอนการสอนเอาไว้อย่างมีระเบียบและเป็นระบบ ทุกขั้นตอนจะประสานสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่องและเป็นไปโดยครบวงจร ตั้งแต่เริ่มต้นการสอนจนถึงการประเมินผล
2. บทบาทของครูและนักเรียน เป็นวิธีการที่แสดงถึงพฤติกรรมการสอนและพฤติกรรมการเรียนที่ชี้นำเอาไว้อย่างชัดเจนว่าขั้นตอนไหนใครควรแสดงบทบาทอย่างไร
โดยเน้นกิจกรรมการเรียนรู้ด้านการกระทำของผู้เรียนเป็นสำคัญ
3. หลักปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน เป็นการติดต่อสื่อสารอย่างใกล้ชิดแบบกระบวนการคู่ (two – way
process)
ระหว่างครูและนักเรียน
โดยเน้นการมีส่วนร่วมของนักเรียนทุก ๆคน
ภายใต้บรรยากาศและความสัมพันธ์อันดี ตามวิถีทางแบบประชาธิปไตย
4. สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ได้แก่สื่อการเรียนการสอนและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง
ๆที่นำมาใช้เป็นเครื่องมือ
ที่จะช่วยเอื้อให้การสอนและการเรียนทุกขั้นตอนดำเนินไปอย่างถูกต้องเหมาะสม
เพื่อส่งเสริมให้การสอนมีประสิทธิภาพสูงและการเรียนมีประสิทธิผลเต็มตามศักยภาพที่ควรเป็น
รูปแบบการสอนคุณภาพนั้นมีเกณฑ์ในการพิจารณาเลือกใช้ที่ควรพิจารณา
คุณสมบัติ 3
ข้อ ดังนี้
1.
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน จะต้องสูงกว่ารูปแบบการสอนที่ใช้อยู่เดิม
2.
ขั้นตอนการสอน จะต้องเข้าใจง่าย ไม่ยุ่งยากสับสน หรือซับซ้อน
3.
สื่อการสอนที่ใช้ จะต้องทำขึ้นเองได้ง่าย หรือหาได้สะดวกในท้องถิ่น
รูปแบบการสอนสากลซึ่งเป็นที่รู้จักกันมานานและครูนิยมใช้
เป็นรูปแบบการสอนที่มีลักษณะ 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นนำ
ขั้นสอน และขั้นสรุป ซึ่งในแต่ละขั้นครูจะมีวิธีสอน กิจกรรม
สื่อต่างๆ ที่เห็นสมควร แต่ครูบางท่านมีศักยภาพสูง
จะมีการสร้างสรรค์หรือออกแบบกิจกรรมโดยศึกษารูปแบบการสอนที่มีแนวคิดหลักการ ทฤษฎีรองรับ แล้วปรับกระบวนการเรียนการสอนปรับขั้นตอนเชื่อมโยงกิจกรรมให้เหมาะสมกับผู้เรียน
นำไปทดลองใช้สอนแล้ววิเคราะห์ผลเพื่อนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาผู้เรียนต่อไป
บรรดาครูดังกล่าวน่าจะกล่าวยกย่องได้ว่าเป็นครูมืออาชีพอย่างแท้จริง ซึ่งในอนาคตคงจะได้รับเกียรติเป็นครูชำนาญการพิเศษหรือครูผู้เชี่ยวชาญได้ไม่ยากนัก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น